เราคงไม่อาจบอกว่าสังคมที่ไร้สิทธิเสรีภาพเป็นโลกที่ดีนัก เช่นเดียวกับสังคมที่มีอิสระเสรีเสียจนไร้ซึ่งกฏเกณฑ์หรือความรับผิดชอบใด ๆ จะเป็นสังคมที่เราอยากมีส่วนร่วม สังคมโลกแห่งความเป็นจริงสิทธิและเสรีภาพก่อเกิดเนิดขึ้นเพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ผู้คนสามารถอยู่ร่วมกัน ภายใต้กฏเกณฑ์ซึ่งมาจากการเห็นพ้องที่จะยอมทำตามเพื่อความสงบสุขของทุกคน
เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว ผู้คนเริ่มเข้าไปใช้เวลาแบ่งปันส่วนของชีวิตไปอยู่ในกระแสโลกออนไลน์มากขึ้น โลกอินเทอร์เน็ตซึ่งเคยไร้ขอบเขตมีอิสระที่จะทำอะไรก็ได้ จึงเริ่มมีกฎเกณฑ์เพื่อให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในสังคมออนไลน์ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยเช่นเดียวกัน
ทุกวันนี้ใครที่มีบัญชีออนไลน์อย่างน้อย 1 บัญชีไม่ว่าจะเป็นอีเมล หรือเฟซบุ๊ค ก็ถือได้ว่าคน ๆ นั้น เป็นพลเมืองดิจิทัล ความหมายที่สื่อถึงการเป็นพลเมืองนอกจากการมีตัวตนอยู่ในพื้นที่ดิจิทัลแล้ว ยังหมายถึงบุคคลนั้นจะมีสิทธิ์ขั้นพื้นฐานไม่ต่างจากการเป็นพลเมืองในโลกจริง รวมถึงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และแนวทางความรับผิดชอบด้วยเช่นกัน วันนี้มาติดตามกันครับ
เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพลเมืองดิจิทัลที่น่าสนใจคลิก Digital Citizenship ทักษะพลเมืองดิจิทัล
สิทธิ ในฐานะพลเมืองดิจิทัล
- สิทธิ์ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต – สิทธิขั้นพื้นฐานคือสิทธิ์ในการเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์ ไม่มีการปิดกั้น รวมถึงควรได้รับการส่งเสริมให้เข้าถึงได้
- สิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็น – เมื่อเข้าใช้งานอินเทอร์ได้แล้ว การแสดงออกขั้นพื้นฐานอย่างการแสดงความคิดเห็นก็เป็นสิทธิ์ขั้นต้นไม่ต่างจากพลเมืองในโลกความจริง ที่สามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองได้ (เชื่อมโยงถึงกฎเกณฑ์ความรับผิดชอบต่อไป)
- สิทธิ์ในข้อมูล- คำพูด ข้อความ สื่อ การแสดงออก ผลงานที่เราสร้างไม่ว่าจะด้วยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ถือเป็นสิทธิ์ของเราตั้งแต่ต้น แต่หมายความรวมถึงความรับผิดชอบที่ตามมาเมื่อสิ่งที่เราสร้างนั้นสร้างผลกระทบทั้งผลดี และผลเสีย
กล่าวโดยสรุป สิทธิในฐานะพลเมืองดิจิทัล คล้ายกับสิทธิพลเมืองในโลกจริง แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของ “พื้นที่ดิจิทัล” ที่ผู้ใช้งานต้องพึงระวัง ได้แก่
- โลกอินเทอร์เน็ตไม่มีอะไรสูญหาย สิ่งที่สร้างจะคงอยู่ตลอดไป แม้จะลบแล้วก็สามารถกู้คืนได้เสมอ
- เว็บไซต์ของหน่วยงาน องค์กร หรือพื้นที่หน้าโปรไฟล์ของบุคคล เปรียบได้กับพื้นที่ส่วนตัว หรือเป็นอาณาเขตของบ้าน หากล่วงล้ำเพียงการคลิกหรือส่งข้อความรบกวน อาจสามารถถูกดำเนินคดีได้ลักษณะเดียวกับการบุกรุก
- การนำข้อมูลมาใช้จะต้องได้รับการอนุญาติจากเจ้าของผลงานเท่านั้น
ความสำคัญของสิทธิบนโลกออนไลน์
- ส่งเสริมเสรีภาพ: สิทธิบนโลกออนไลน์ช่วยให้ผู้คนสามารถแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร โดยไม่ต้องกลัวการถูกคุกคามหรือปิดกั้น สิ่งนี้ส่งเสริมให้ผู้คนมีเสรีภาพในการแสดงออก มีส่วนร่วมในสังคม และตรวจสอบการทำงานของผู้มีอำนาจ
- สร้างสังคมออนไลน์ที่หลากหลาย: สิทธิบนโลกออนไลน์ช่วยให้ผู้คนจากหลากหลายภูมิหลัง วัฒนธรรม ความคิดเห็น สามารถอยู่ร่วมกันบนโลกออนไลน์ได้อย่างสันติ
- ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูล: สิทธิบนโลกออนไลน์ช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความรู้ บริการต่างๆ บนโลกออนไลน์ สิ่งนี้ช่วยให้ผู้คนสามารถพัฒนาทักษะ ความรู้ และสร้างโอกาสในชีวิต
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วม: สิทธิบนโลกออนไลน์ช่วยให้ผู้คนมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์ แสดงความคิดเห็น เสนอแนะ ตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานต่างๆ สิ่งนี้ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย และการตรวจสอบถ่วงดุล
ตัวอย่างความสำคัญของสิทธิบนโลกออนไลน์
- กรณีการเปิดเผยข้อมูลการทุจริตคอร์รัปชั่นบนโลกออนไลน์ ช่วยให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ
- กรณีการรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพบนโลกออนไลน์ ช่วยให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิ และร่วมกันปกป้องสิทธิเหล่านี้
- กรณีการใช้โลกออนไลน์เพื่อการศึกษา ช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ
ความรับผิดชอบ ในฐานะพลเมืองดิจิทัล
- ไม่ละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น- ด้วยลักษณะของโลกดิจิทัลที่ต่างการโลกจริง การคลิกแชร์ข้อมูลที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียวอาจหมายถึงการละเมิดข้อมูลของผู้อื่น และอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ฉะนั้นแล้วการใช้ชีวิตในฐานะพลเมืองดิจิทัลจึงต้องอาศัยทักษะความรู้ เรียนรู้ที่จะเลือกใช้งาน หรือสื่อสารข้อมูลโดยไม่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น
- สร้างความเป็นมิตรในสังคม- ส่วนนี้เปรียบได้กับจริยธรรม ค่านิยมที่พึงปฏิบัติ แม้จะไม่มีการบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษแต่ก็เป็นสิ่งที่ผู้คนในสังคมโลกดิจิทัล ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้การใช้งานโลกดิจิทัลเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
ความสำคัญของความรับผิดชอบบนโลกออนไลน์
- สร้างสังคมออนไลน์ที่ปลอดภัย: ความรับผิดชอบบนโลกออนไลน์ช่วยป้องกันผู้ใช้จากภัยคุกคามต่างๆ เช่น การกลั่นแกล้งออนไลน์ การโจมตีทางไซเบอร์
- ส่งเสริมการใช้โลกออนไลน์อย่างสร้างสรรค์: ความรับผิดชอบบนโลกออนไลน์ช่วยให้ผู้ใช้ใช้โลกออนไลน์ในทางที่ดี แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ สร้างสรรค์ผลงาน
- สร้างความน่าเชื่อถือ: การปฏิบัติตามความรับผิดชอบบนโลกออนไลน์ ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ใช้ และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีบนโลกออนไลน์
ตัวอย่างความสำคัญของความรับผิดชอบบนโลกออนไลน์
- กรณีการแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จ ช่วยป้องกันการแพร่กระจายข้อมูลเท็จ และสร้างความเสียหายต่อสังคม
- กรณีการรณรงค์ให้ผู้ใช้ตระหนักถึงความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ ช่วยให้ผู้ใช้รู้เท่าทันภัยคุกคาม และป้องกันตนเอง
- กรณีการใช้โลกออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์งานอาสาสมัคร ช่วยให้ผู้คนสามารถช่วยเหลือผู้อื่น และสร้างสังคมที่ดี
สรุป
ความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองดิจิทัล มีทั้งที่อยู่ภายใต้กฎหมายจริง และอยู่ภายใต้แนวทางปฏิบัติอย่างเป็นมิตร เพราะแม้เราจะมีสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึง มีอิสระในการแสดงออกอย่างเต็มที่ แต่การแสดงออกนั้นไม่ควรก่อความเดือดร้อน หรือสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่น ซึ่งหากกระทำแล้วต้องได้รับผลตามมาไม่ว่าจะเป็นตัวบทลงโทษตามกฎหมาย หรือบทลงโทษจากผู้คนในสังคม
สิทธิเสรีภาพ กับกฎเกณฑ์ความรับผิดชอบจึงเป็นของคู่กันเสมอมาทั้งในโลกความจริงและบนโลกดิจิทัล เพื่อที่จะใช้ชีวิตอย่างเป็นสุข เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะเคารพตัวเอง เคารพผู้อื่น และเลือกที่จำดำเนินชีวิตอย่างไม่เบียดเบียนทั้งยังต้องรับผิด รับชอบกับที่สิ่งที่กระทำลงไปอีกด้วย
กล่าวโดยสรุป สิทธิในฐานะพลเมืองดิจิทัล คล้ายกับสิทธิพลเมืองในโลกจริง แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของ “พื้นที่ดิจิทัล” ที่ผู้ใช้งานต้องพึงระวัง ได้แก่
- โลกอินเทอร์เน็ตไม่มีอะไรสูญหาย สิ่งที่สร้างจะคงอยู่ตลอดไป แม้จะลบแล้วก็สามารถกู้คืนได้เสมอ
- เว็บไซต์ของหน่วยงาน องค์กร หรือพื้นที่หน้าโปรไฟล์ของบุคคล เปรียบได้กับพื้นที่ส่วนตัว หรือเป็นอาณาเขตของบ้าน หากล่วงล้ำเพียงการคลิกหรือส่งข้อความรบกวน อาจสามารถถูกดำเนินคดีได้ลักษณะเดียวกับการบุกรุก
- การนำข้อมูลมาใช้จะต้องได้รับการอนุญาติจากเจ้าของผลงานเท่านั้
ทักษะพลเมืองดิจิทัลที่น่าสนใจคลิก
ติดตามบทความน่าสนใจเพิ่มเติมคลิก: https://www.think-digital.app/