ในยุคปัจจุบัน สื่อมีบทบาทสำคัญในชีวิตของเรา เราใช้สื่อเพื่อติดตามข่าวสาร เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เชื่อมต่อกับผู้อื่น และเพื่อความบันเทิง อย่างไรก็ตาม สื่อไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือที่นำเสนอข้อมูล แต่เป็นเครื่องมือที่มีพลังในการสร้างความหมายและกำหนดมุมมองของเราต่อโลก
การเข้าใจที่มาของสื่อ หมายถึง การเข้าใจถึงกระบวนการสร้างสรรค์เนื้อหาสื่อ motives เบื้องหลัง และ บริบททางสังคม วัฒนธรรม และ เศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อเนื้อหา การเข้าใจเหล่านี้ ช่วยให้เรามีวิจารณญาณในการวิเคราะห์ ตีความ และ ประเมินเนื้อหาสื่อ
เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพลเมืองดิจิทัลที่น่าสนใจคลิก Digital Citizenship ทักษะพลเมืองดิจิทัล
ทำไมต้องเข้าใจที่มาของสื่อ
- ช่วยให้เราคิดวิเคราะห์: การเข้าใจที่มาของสื่อ ช่วยให้เราตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหา วิเคราะห์ และ ตีความ โดยไม่เชื่ออะไรง่ายๆ
- ช่วยให้เราแยกแยะข้อเท็จจริงจากความคิดเห็น: สื่อมักนำเสนอเนื้อหาที่ผสมผสานระหว่างข้อเท็จจริงและความคิดเห็น การเข้าใจที่มาของสื่อ ช่วยให้เราแยกแยะ และ วิเคราะห์ เนื้อหา
- ช่วยให้เราเข้าใจอคติ: สื่อมักมีอคติแฝงอยู่ การเข้าใจที่มาของสื่อ ช่วยให้เรา ตระหนักถึงอคติ เหล่านี้ และ วิเคราะห์ เนื้อหา
- ช่วยให้เราเป็นผู้บริโภคสื่ออย่างชาญฉลาด: การเข้าใจที่มาของสื่อ ช่วยให้เรา เลือก เนื้อหา ที่เหมาะสม และ ใช้สื่อ อย่างมีประโยชน์
- ช่วยให้เราเป็นผู้ผลิตสื่ออย่างมีความรับผิดชอบ: การเข้าใจที่มาของสื่อ ช่วยให้เรา ตระหนักถึง ผลกระทบ ของเนื้อหา ที่เรา ผลิต
สื่อทั้ง 3 ประเภท
1. Paid Media:
Paid Media คือ สื่อใดๆ ก็ตามที่แบรนด์ต้องจ่ายเงินซื้อการมองเห็น (Visibility) หรือ “พื้นที่สื่อ” จากแพลตฟอร์มต่างๆ ที่เป็น Third-Party ซึ่งแต่ละตัวก็จะมีฟังก์ชัน ข้อโดดเด่น และข้อจำกัดแตกต่างกันไป อย่างเช่น Google Search Ads ต้องเป็นข้อความ หรือ Facebook Ads จำกัดตัวอักษรหรือขนาดรูปภาพ เป็นต้น เราจะได้รับชมหรือรับรู้การกระตุ้นของธุรกิจต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เราใช้งาน ตัวอย่าง:
- โฆษณา Google Ads
- โฆษณา Facebook
- บทความ sponsored content บนเว็บไซต์
ความสร้างสรรค์ของสื่อเพื่อการโฆษณาในปัจจุบัน ใช้เทคนิคเพื่อกระตุ้นความสนใจ กระตุ้นความรู้สึกของผู้รับสื่อหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้รับสื่อเกิดความสนใจและมีความต้องการซื้อสินค้าซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของสื่อลักษณะนี้
ฉะนั้นทุกครั้งที่เรารับสื่อทั้งที่สร้างความบันเทิงก่อนแล้วขายทีหลัง หรือขายโดยตรง ให้รับรู้ว่าพื้นที่ที่เรารับชมสื่ออยู่นั้นเป็นพื้นที่ที่ธุรกิจต้องจ่ายเพื่อให้ได้มา เราจะสามารถตระหนักได้ในเบื้องต้นว่านี่คือการโฆษณาเพื่อให้เรารู้จักกับแบรนด์หรือเกิดความต้องการสั่งซื้อสินค้า
2. Owned Media:
Owned Media คือ สื่อที่เราเป็นเจ้าของเอง แบรนด์สามารถควบคุมจัดการเนื้อหา คอนเทนต์ต่างๆ ได้เต็มที่ เป็น First-party เปรียบเสมือนบ้านของเราเองที่จะทำอย่างไรก็ได้ และแบรนด์จะเป็นเจ้าของข้อมูลของผู้ใช้งานและลูกค้าเองทั้งหมด ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบในระยะยาว
ตัวอย่าง:
- เว็บไซต์ของแบรนด์
- บล็อกของแบรนด์
- บัญชีโซเชียลมีเดียของแบรนด์
แบรนด์ของธุรกิจต่างก็พยายามสร้างพื้นที่ของตนเองเนื่องจากสามารถสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างความเชื่อมั่นแล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่สามารถออกแบบและควบคุมความเคลื่อนไหวได้ตามที่ธุรกิจต้องการ ต่างจากPaid Media ที่อยู่ในลักษณะเช่าพื้นที่
เว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มของแบรนด์ต่างๆ เปรียบได้กับหน้าร้านที่เป็นทางการของธุรกิจ หลายต่อหลายครั้งที่เราสามารถตระหนักได้ว่า เมื่อมีความไม่ชัดเจนหรือต้องการข้อมูลที่ถูกต้องเราจำเป็นต้องติดต่อกับเว็บไซต์ของธุรกิจโดยตรงเพราะมีความน่าเชื่อถือกว่าช่องทางโซเชียลมีเดียที่สามารถถูกปลอมแปลงแอบอ้างได้
3. Earned Media:
Earned Media คือ สื่อของคนอื่นที่พูดถึงเราหรือแบรนด์โดยอิสระ อาจเป็นคอมเมนต์บนโซเชียลมีเดีย สิ่งที่คนพูดกันปากต่อปาก (Word of Mouth) หรือการที่ได้รับการอ้างอิง ถูก Mention ถึงจากแบรนด์อื่นๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นสื่อที่แบรนด์ไม่สามารถควบคุมหรือซื้อได้ สิ่งที่ทำได้ คือ การทำคอนเทนต์หรือมอบคุณค่าที่เป็นประโยชน์ โดนใจ Audience จริงๆ จนเขาอยากแชร์ อยากบอกต่อ
ตัวอย่าง:
- บทความรีวิวสินค้าบนเว็บไซต์
- คำพูดจากผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดีย
- การแชร์วิดีโอของแบรนด์บน YouTube
ปัจจุบันสื่อลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมจากทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจส่วนตัว รวมไปถึงการสร้างชื่อเสียงจากฐานผู้ชมได้อีกด้วย การบอกปากต่อปาก หรือการรีวิวโดยที่เจ้าของสินค้าหรือธุรกิจไม่ได้เป็นคนสื่อสารเองเปรียบได้กับการับประกันจากผู้ใช้งานสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าโดยที่ไม่ต้องลงทุน
อย่างไรก็ตามเมื่อความนิยมของสื่อลักษณะนี้มีมากขึ้นการจ้างรีวีว หรือเชียร์ขายผ่านนักรีวิวที่มีผู้ติดตามสูงก็เกิดขึ้นจนกลายเป็นเทคนิคการขายปกติในยุคปัจจุบัน ในฐานะผู้บริโภคจึงจำเป็นจะต้องประเมินสื่อลักษณะนี้ให้รอบด้านเพราะการรีวิวเยอะก็ไม่ได้หมายความว่าสินค้าหรือบริการนั้นจะดีจริง
สรุป
Paid, Owned, Earned Media เป็นสื่อ 3 ประเภทที่ผู้บริโภคจำเป็นจะต้องเรียนรู้และตระหนักถึงแหล่งที่มาของสื่อเพื่อความตระหนักในขั้นต้นว่าสื่อที่รับชมนั้นมี “จุดมุ่งหมาย” อย่างไรในเบื้องต้น เช่น สื่อที่รับชมนั้นเป็นการโฆษณาเพื่อขายสินค้า, เป็นการเปิดตัวให้รู้จักแบรนด์ใหม่ๆ, เป็นการสร้างฐานผู้ชมของนักรีวิว เป็นต้น
ทักษะพลเมืองดิจิทัลที่น่าสนใจคลิก
ติดตามบทความน่าสนใจเพิ่มเติมคลิก: https://www.think-digital.app/