ในยุคดิจิทัล การค้นหาข้อมูลเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกคน Google Search เครื่องมือค้นหาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่การค้นหาให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงประเด็นและมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษ
บทความนี้นำเสนอเทคนิคการใช้ Google Search ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างชาญฉลาด ประหยัดเวลา และได้ผลลัพธ์ที่ตรงใจ เทคนิคเหล่านี้เหมาะสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา พนักงานออฟฟิศ หรือบุคคลทั่วไป
เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะพลเมืองดิจิทัลที่น่าสนใจคลิก Digital Citizenship ทักษะพลเมืองดิจิทัล
1. ดีใจจังค้นหาแล้วเจอเลย
ตั้งแต่ใช้ Google มาเคยลองกดปุ่มนี้กันหรือเปล่า ปกติเมื่อเราพพิมพ์ข้อความที่เราต้องการค้นแล้ว เรามักจะกดปุ่ม “ค้นหา” ทันที แล้วเลือกเว็บไซต์ที่หน้าสนใจหรือตรงกับความต้องการของเรา
ดีใจจังค้นหาแล้วเจอเลย เป็นปุ่มช่วยค้นหาและเลือก โดยกูเกิ้ล ซึ่งเราจะเข้าไปที่เว็บไซต์ที่กูเกิ้ลเลือกให้ทันที การเลือกของกูเกิ้ลอาจจใช้หลายเงื่อนไข ขึ้นกับเนื้อหาที่เราต้องการค้นหา เช่น เลือกจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ, เลือกจากแหล่งข้อมูลซึ่งมักเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเลือกจากเว็บใซต์ที่มีจำนวนผู้ใช้งานจำนวนมาก
2. ค้นหาด้วย URL
อยากค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์โดยตรง สามารถค้นหาได้ด้วยการกรอก URL ลงในช่อง URL ด้านบนจะสามารถเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ที่ต้องการได้ทันที แต่หากไม่ต้องการพิมพ์ URL เต็มๆ ก็สามารถค้นหาได้ด้วยการชื่อเว็บไซต์ในช่องค้นหาได้เช่นเดียวกัน
เทคนิค: พิมพ์ site: (ชื่อ url ของเว็บไซต์)
เช่น สื่อการสอน site:https://blog.think-digital.app/ เป็นต้น
3. ใช้เครื่องหมาย +,- และการเว้นวรรค บอกสิ่งที่ต้องการ
ข้อมูลในอินเทอร์มีมากมายมหาศาล และมีแนวโน้มว่าจะทวีจำนวนมากขึ้นทุกที การค้นหาด้วยกูเกิ้ลจึงต้องใช้เทคนิคเพิ่มเติมเพื่อระบุให้ระบบค้นหาข้อมูลที่ตรงความต้องการของเรามากที่สุด
ตัวอย่าง: ต้องการค้นหาแนวทางวางแผนท่องเที่ยว ภูเก็ต และพังงา 3 วัน 2 คืน
3.1 การเว้นวรรค
หากข้อมูลที่ต้องการค้นหามีความเฉพาะเจาะจงให้พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการลงไป แล้วเว้นวรรคระหว่างคำที่ต้องการเช่น เที่ยวภูเก็ต 3วัน2คืน
สังเกตจำนวนผลการค้นหาจะมีมากถึง 8,200,000 รายการ ซึ่งมีจำนวนมากเกินกว่าเราจะเลือกชมได้ทุกรายการ
3.2 เครื่องหมายบวก +
การเพิ่มเครื่องหมายบวก + หน้าคำค้นหาที่ต้องการเป็นการบอกระบบค้นหาของกูเกิ้ลว่า “ต้องมีข้อมูล/คำนี้” อยู่ในการค้นหา เว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลใดที่ใกล้เคียงแต่ไม่มีคำดังกล่าวจะไม่นำแสดงผล เช่น เที่ยว +ภูเก็ต +3วัน2คืน
สังเกตจำนวนผลการค้นหาจาก 8,200,000 รายการ ลดลงมาเหลือ 23,600 รายการ ถือได้ว่าการเพิ่มเครื่องหมายบวกเพื่อระบุความเฉพาะเจาะจงช่วยให้ได้ข้อมูลที่ตรงความต้องการมากยิ่งขึ้น
3.2 เครื่องหมายลบ –
การเพิ่มเครื่องหมายลบ – หน้าคำค้นหาที่ต้องการเป็นการบอกระบบค้นหาของกูเกิ้ลว่า “ไม่ต้องการข้อมูล/คำนี้” อยู่ในการค้นหา เว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลใดที่มีคำดังกล่าวจะไม่นำแสดงผลโดยเด็ดขาด เช่น เที่ยว +ภูเก็ต +3วัน2คืน -พังงา -ทัวร์
สังเกตจำนวนผลการค้นหาลดลงเหลือ 9 รายการเท่านั้น ยิ่งเพิ่มความเฉพาะเจาะจงระบบยิ่งค้นหาข้อมูลที่ตรงความต้องการของเรามากขึ้นเท่านั้น
4. ระบุข้อมูล ปี
หากต้องการหาข้อมูลที่ระบุวัน เวลาที่เผยแพร่อย่างถูกต้องและสามารถนำไปอ้างอิงได้ ให้พิมพ์เลขของปี พ.ศ./ค.ศ. ต่อท้ายคำค้นหาที่ต้องการ
การใส่เลขปี จะเป็นการบอกระบบค้นหาของกูเกิ้ลให้ค้นหาเฉพาะข้อมูลที่ “มีการระบุ วัน เดือน ปี ช่องทาง และผู้เผยแพร่” ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถอ้างอิงและตรวจสอบย้อนกลับได้
เทคนิค: เพิ่มเลขปี พ.ศ./ค.ศ.
เช่น ภัยพิบัติน้ำท่วม 2564= ค้นหาเว็บไซต์ที่มีวันเวลาอ้างอิงได้จริง และค้นหาข่าวที่เผยแพร่ในปี 2564
5. ระบุช่วงวัน-เวลา ของข้อมูล
กูเกิ้ลออกแบบปุ่มตัวเลือกให้เราสามารถเลือกช่วงเวลาของข้อมูลที่เผยแพร่ได้ เช่นกรณีของข่าวข่าวภัยพิบัติ โรคระบาด หรือการเปลี่ยนแปลงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เราสามารถค้นหาข่าวตามช่วงเวลาได้
ผลลัพธ์จากการค้นหาจะเป็นข้อมูลที่มีการเผยแพร่ตามช่วงเวลาที่เราเลือก
สังเกตว่าเมื่อเลือกการค้นหาข้อมูลใน 1 ชั่วโมงที่ผ่าน ระบบจะค้นหาข้อมูลที่เผยแพร่ในช่วงเวลาที่เราเลือก
เทคนิค: กดปุ่มเครื่องมือค้นหา–> เลือกเวลา–>เลือกช่วงเวลาที่ต้องการ
เช่น ค้นหาข่าวน้ำล้นตลิ่ง +พระประแดง–>กดเลือก 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา
6. กำหนดชนิดของไฟล์
หาต้องการค้นหาตัวอย่าง หรือดูข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบไฟล์แบบเอกสาร หรือหาข้อมูลที่ถูกจัดทำเอาไว้แล้ว สามารถค้นหาได้ด้วยการเติมชนิดของไฟล์ข้อมูลต่อท้าย
จากผลลัพธ์การค้นหาจะเห็นว่าการใส่ชื่อชนิดของไฟล์ต่อท้ายคำค้นหา จะได้ผลลัพธ์เป็นชนิดไฟล์ที่ต้องการ
เทคนิค: พิมพ์ filetype: (ชนิดไฟล์)
เช่น เทคนิคลดโลกร้อน filetype:doc
*หาข้อมูล แล้วนำมาใช้อย่าลืมอ้างอิงถึงเจ้าของผลงานให้ถูกต้องด้วยนะครับ
7. ใช้เครื่องหมาย “-” เน้นความสำคัญ
หากต้องการค้นหาข้อมูลที่ต้องการหามีความจำเพาะเจาะจงเช่น ชื่อคน เนื้อเพลง ประโยคในบทความฯลฯ สามารถทำได้ด้วยการใส่เครื่องหมาย “-” กำกับข้อความ
เทคนิค: ใส่เครื่องหมาย “-” กำกับข้อความ เช่น “เด็กชาย ครีเอท รักเรียน” “สาเหตุที่ทำให้ต้นไม้ด่างราคาแพง”
สังเกตว่าผลการค้นหาเมื่อใส่เครื่องหมาย “-” จาก 246,000 รายการ ลดลงเหลือ 351 รายการ ระบบค้นหาจะคัดเลือกแสดงผลเฉพาะแหล่งข้อมูลที่มีคำว่า “ขนมเบื้องป้าศรี” เท่านั้น
8. กูเกิ้ลค้นหาภาพ ด้วยภาพ
สรุป
การค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์ เต็มไปด้วยความท้าทาย ผู้ใช้ต้องเผชิญกับข้อมูลจำนวนมหาศาลที่อาจไม่ตรงประเด็น หรือไม่น่าเชื่อถือ การใช้เทคนิคการใช้ Google Search ที่ถูกต้อง ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างชาญฉลาด ประหยัดเวลา และได้ผลลัพธ์ที่ตรงใจ
อ้างอิง